
เมืองเครื่องเขินคิโสะฮิราซาวะ
เมื่อคุณผ่านเมืองนาระอิจุกุ (Narai-juku) ในนากะเซ็นโด ที่ซึ่งทิวทัศน์ของเมืองที่สวยงามยังคงอยู่ เพียงเดินต่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร บนถนนสายเก่าคุณจะเห็นป้ายหินที่เขียนว่า "เมืองเครื่องเขินฮิราซาวะอยู่ทางด้านขวามือ" ฮิราซาวะตั้งอยู่ในเขตคิโสะทางตอนใต้ของจังหวัดนากาโน่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม้คุณภาพสูง และได้พัฒนาเป็นฐานการผลิตหลักสำหรับเครื่องเขินคิโสะ ซึ่งทำขึ้นจากการใช้การเคลือบเงากับงานไม้ เมืองนี้ยังคงรักษาบรรยากาศของเมืองช่างเคลือบเครื่องเขินแบบโบราณ และถือเป็นหนึ่งในเมืองที่ต้องไปให้ได้หากคุณสนใจในภูมิทัศน์เมืองและงานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น


การพบกันของไม้คิโสะและการเคลือบเงาผ่านนากะเซ็นโด
ในภูมิภาคคิโสะซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองฮิราซาวะ ที่ดินส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ป่าในพื้นที่นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลโอวาริ (Owari) ซึ่งตั้งอยู่ในปราสาทนาโกยา (Nagoya Castle) ในสมัยเอโดะ ไม้ที่ปลูกในป่าของคิโสะเป็นวัสดุก่อสร้างคุณภาพสูงที่มีฮิโนคิ (Hinoki) ไม้ตระกูลสนไซเปรสเป็นหลัก ซึ่งช่วยส่งเสริมฐานะทางการเงินของตระกูลโอวาริอย่างมาก ดังนั้นตระกูลโอวาริจึงมีการจัดการไม้ห้าประเภทที่เรียกว่า "คิโสะ โกะโบคุ (kiso goboku)" อย่างระมัดระวัง และห้ามมิให้มีการตัดไม้โดยเด็ดขาด ความเข้มงวดนี้ปรากฏในวลีที่ว่า "ต้นเดียว คอเดียว" หมายถึงใครก็ตามที่โค่นไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีความผิดถึงตายอย่างแท้จริง โดยทั่วไปแล้วแนวป้องกันบนทางหลวงต่างๆ จะมีเป้าหมายไปที่การปราบปรามที่เรียกว่า "อิริเด็ปโป นิ เดอนนา(Iridepo-ni-deonna)" หมายถึงปืนที่ถูกนำเข้ามาในเอโดะ และภรรยาและผู้หญิงของไดเมียวต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในเอโดะจะถูกปราบปรามอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการจลาจลของเมียวต่างๆ ต่อโชกุนของเอโดะ แต่ที่คิโสะมีแนวป้องกันที่เรียกว่า ชิราคิ อะราทาเมะบันโชว (Shiraki Aratamebansho) ที่นอกจากจะมีแนวป้องกันแล้วยังมีเพื่อควบคุมการไหลออกของไม้จากคิโสะอีกด้วย

ชาวเมืองคิโสะได้รับอนุญาตให้ใช้ไม้ได้จำนวนหนึ่งสำหรับหาเลี้ยงชีพภายใต้การคุ้มครองพิเศษจากตระกูลโอวาริเพื่อแลกกับการช่วยจัดการป่าไม้ ซึ่งเป็นผลให้เทคโนโลยีการแปรรูปไม้ได้พัฒนาขึ้นในคิโสะ จึงทำให้งานไม้จากไม้ธรรมดาที่หลากหลายถูกทำขึ้นมา ตั้งแต่ของจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารไปจนถึงของตกแต่ง เช่นหวี งานไม้ของคิโสะซึ่งตั้งอยู่ในจุดสำคัญของการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างตะวันออก-ตะวันตกที่เรียกว่านากะเซ็นโดในที่สุดก็พบกับการเคลือบเงา และเครื่องเขินคิโสะก็ได้พัฒนาขึ้น
คุณสมบัติของเครื่องเขินคิโสะ
น้ำมันขัดเงาเป็นยางไม้ที่เก็บรวบรวมจากลำต้นของต้นครั่งจีนที่เติบโตเฉพาะในเอเชีย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณเนื่องจากเมื่อทาลงบนไม้จะเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน


เนื่องจากเครื่องเขินมีความแวววาวสวยงาม ดังนั้นจึงมีเครื่องเขินราคาแพงมากมายสำหรับชนชั้นสูง เช่น เครื่องเขินวะจิมะในจังหวัดอิชิกาวะซึ่งตกแต่งด้วยภาพลงรัก แต่เครื่องเขินคิโสะได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปในฐานะของใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นถึงแม้จะขาดความแวววาว แต่ก็มีความทนทานและใช้งานง่าย และได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนทั่วไปในสมัยเอโดะ เดิมทีขายเป็นของที่ระลึกในเมืองที่เป็นจุดพักระหว่างการเดินทาง เช่น นาระอิจุกุ แต่ในไม่นานชื่อเสียงของมันก็แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเริ่มแจกจ่ายไปยังเอโดะ (โตเกียว) และโอซาก้าผ่านทางนากะเซ็นโด
เดินเล่นไปตามถนนคิโสะฮิราซาวะ
ฮิราซาวะอยู่ห่างจากนาระอิจุกุประมาณ 2 ถึง 3 กิโลเมตร แม้ว่าจะไม่ใช่เมืองที่เป็นจุดพักระหว่างการเดินทางสำหรับนักเดินทาง แต่เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านที่ให้การสนับสนุนเมืองที่เป็นจุดพักระหว่างการเดินทางอาศัยอยู่ และเป็นเมืองของช่างฝีมือเครื่องเขินคิโสะที่ยังคงหลงเหลืออยู่


ทิวทัศน์ของถนนฮิราซาวะตามแนวนากะเซ็นโดเก่านั้นน่าประทับใจมาก บ้านแต่ละหลังประกอบด้วยบ้านหลังใหญ่ (ซึ่งอาจใช้เป็นร้านค้า) ลานบ้าน และโกดังสำหรับผลิตเครื่องเขิน อย่างแรกเลย ส่วนที่หันหน้าไปทางถนนสายหลักจะเป็นร้านขายเครื่องเขิน และถ้าไปด้านหลังของร้านนั้น คุณจะพบกับพื้นที่อยู่อาศัยส่วนตัว และลานภายใน นอกจากนี้ยังมีโกดัง 2 ชั้นที่ด้านหลังลานบ้านอีกด้วย บ้านหลายสิบหลังที่เรียงกันไปตามถนนเช่นนี้ได้สร้างภูมิทัศน์เมืองให้เกิดขึ้น



หากคุณแวะเยี่ยมชม อิโต คันจิ โชเต็น (Ito Kanji Shoten) หนึ่งในตัวแทนร้านเครื่องเขิน คุณจะพบเครื่องเขินคิโสะที่สวยงามเรียงรายอยู่ในร้านที่หันหน้าไปทางถนน และด้านหลังเป็นลานขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจินตนาการได้เมื่อมองจากด้านหน้า นอกเหนือไปจากนั้นจะเป็นโกดังที่สร้างขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว โกดังนี้เรียกว่านูริกุระ (Nurigura) ภายในโกดังนี้ช่างฝีมือหลายคนก็จะลงแล็คเกอร์เคลือบบนชามหลายครั้ง แต่ไม่ใช่ทุกส่วนของโกดังที่เปิดให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ดังนั้นจะมีการวางรหัส QR-Code อยู่ที่ร้านขายเครื่องเขิน และคุณสามารถสแกนรหัส QR-Code แล้วคุณจะสามารถเห็นวิธีการผลิตเครื่องเขินในโกดังได้
เยี่ยมชมช่างฝีมือเครื่องเขินคิโสะ
ในบรรดาช่างฝีมือที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ช่างฝีมือชั้นยอดได้รับการรับรองว่าเป็น "ช่างฝีมือดั้งเดิม" ตามระบบเยอรมันมาสเตอร์ ได้แก่คุณมาซะทาเคะ มิยาฮาระ (Masatake Miyahara) ถือเป็นตัวแทนขององค์กรช่างฝีมือดั้งเดิมของเครื่องเขินคิโสะ

ในสมัยสมัยเอโดะครอบครัวมิยาฮาระเป็นเจ้าหน้าราชการที่มีหน้าที่คอยดูแลไม้ซุงและไม้แปรรูปของคิโสะ และครอบครัวมิยาฮาระยังคงมีข้อความเก่าจากสมัยเอโดะเกี่ยวกับโควตาของต้นฮิโนคิหลงเหลืออยู่ คุณมิยาฮาระเกิดในครอบครัวเช่นนี้ จึงได้มีส่วนร่วมในการทำเครื่องเขินและมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี และลูกของเขายังเป็นช่างฝีมือเครื่องเขินของคิโสะอีกด้วย


การทำเครื่องเขินนั้นเป็นงานยากที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ โดยต้องคำนึงถึงรูปทรงของไม้และจุดประสงค์ในการใช้งาน ในแต่ละครั้งจะต้องมีการเคลือบเงาที่เหมาะสมที่สุด และในการลงแล็คเกอร์ต้องเรียบร้อยในขณะที่พิจารณาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้น โดยทำการเคลือบซ้ำกับไม้และทำให้แห้ง จากนั้นจึงทาและทำให้แห้งอีก งานชิ้นหนึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วันจึงจะเสร็จ
เครื่องเขินคิโสะทำโดยช่างฝีมือผู้ชำนาญนั้นเรียบง่ายแต่สวยงาม ความเงาของแล็กเกอร์จะเพิ่มขึ้นตามการใช้งานในระยะยาว เมื่อเวลาผ่านไปความผูกพันกับภาชนะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นหลายคนยังคงใช้ของเก่าโดยใช้ไปซ่อมไป กล่องเบนโตะและชามขนาดเล็กที่เรียกว่า "เมนปะ" (Menpa) กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
เครื่องเขินคิโสะสามารถหาซื้อได้ที่ร้านเครื่องเขินแต่ละร้านริมถนน และที่ศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของคิโสะ (Kurashi no kogeikan) เช่นเดียวกับผู้เดินทางบนเส้นทางนากะเซ็นโดในสมัยเอโดะ การเลือกเครื่องเขินเป็นของที่ระลึกขณะมองดูภูเขาคิโสะนั้นเป็นเรื่องน่าสนุก


หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องเขินคิโสะ คุณสามารถแวะไปที่พิพิธภัณฑ์เครื่องเขินคิโสะ ที่อยู่ระหว่างฮิราซาวะและนาระอิจุกุ ไม่เพียงแต่มีการจัดแสดงเครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องเขินคิโสะและกระบวนการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหรียญตราเครื่องเขินที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่นากาโน่ในปี 1998 อีกด้วยเหรียญโอลิมปิกฤดูหนาวนากาโน่สร้างขึ้นโดยช่างฝีมือท้องถิ่นที่ศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของคิโสะ